ธรรมาภิบาล
โลกในยุคโลกาภิวัฒน์กำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน บทบาทของการเป็นบรรษัทภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มบรรษัท และกิจการธุรกิจ (Good Corporate and Corporate Social Responsibility) มีความสำคัญมากขึ้นทั้งในแง่ของการเป็นแนวคิด กลไก และเครื่องมือที่สำคัญของการพัฒนาองค์กรธุรกิจและการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างยั่งยืน เช่น การใช้หลักธรรมาภิบาล การผลิตสินค้าและบริการที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้าง “คุณค่า” ให้กับองค์กรธุรกิจนอกจาก “มูลค่า” ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจแล้วแนวคิดดังกล่าว ยังสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสังคมที่เต็มไปด้วย “ความเก่ง” และ “ความดี” ความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรษัทและกิจการธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) มุ่งเน้นให้องค์กรธุรกิจดำเนินกิจการทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมโดยส่วนรวมเพื่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับชุมชน เป็นต้น โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินการและเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร เป็นการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอก ในอันที่จะส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข
ฐานความคิดและที่มาของ CSR สร้างความตื่นตัวให้แก่บรรดากลุ่มธุรกิจและให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจ CSR ในองค์กรอย่างจริงจังมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาสังคม ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับ CSR ครั้งแรกเกิดจากการประชุมระดับโลกที่กรุงเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 2535 ได้มีการกล่าวถึงทิศทางใหม่ของการพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) มีการเรียกร้องให้เกิดการพัฒนาที่เอาใจใส่ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการมุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ต่อมาองค์กรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้บรรจุเรื่อง CSR ไว้ในแนวทางปฏิบัติสำหรับวิสาหกิจ
ข้ามชาติในปี 2000 เสนอให้วิสาหกิจข้ามชาติคำนึงถึง CSR ในองค์กรและติดต่อค้าขายและทำธุรกรรมกับเฉพาะคู่ค้าที่มี CSR เช่นเดียวกัน ธุรกิจใดที่ไม่มี CSR อาทิ การผลิตที่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม การใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม ฯลฯ จะไม่สามารถติดต่อค้าขายกับวิสาหกิจที่มีถิ่นฐานในประเทศสมาชิก OECD ได้อีกต่อไปและในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.1999 ในการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (Mr.Kofi Annan) ได้เรียกร้องให้ธุรกิจแสดงความเป็นพลเมืองที่ดีของโลก (Good Global Citizenship) ในทุกที่และในทุกประเทศที่ตนทำมาหากินอยู่ ด้วยการเคารพต่อหลักต่างๆ ที่เป็นข้อตกลงนานาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องมาตรฐานแรงงานและเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยได้เสนอบัญญัติ 9 ประการ เรียกกันว่า “The Global Compact” หรือ “The UN Global Compact” และต่อมาได้เพิ่มเป็นบัญญัติ 10 ประการ สำหรับธุรกิจ ซึ่งต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2000 ได้มีประกาศเรื่องนี้อย่างเป็นทางการที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก The UN Global compact นี้ มีลักษณะเป็นกรอบที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยความเป็นพลเมืองดีของธุรกิจที่มีผู้นำที่สร้างสรรค์ และยอมรับพันธะสัญญาของ Global Compact ด้วยความสมัครใจ ซึ่งธนาคารโลกและธนาคารเพื่อพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank = ADB) ก็ได้นำหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นเงื่อนไขในการปล่อยกู้แทนประเด็นตามหลักประชาธิปไตย ซึ่งหลักธรรมาภิบาลดังกล่าว ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบได้ (accountability) ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการมีกรอบกฎหมายสำหรับการพัฒนา ซึ่งธนาคารโลกได้แยกหลักธรรมาภิบาลออกจาก
แนวคิดประชาธิปไตย โดยเน้นในเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถือว่าหลักธรรมาภิบาลกับหลักประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ไปด้วยกัน เนื่องจากลักษณะหลายอย่างของธรรมาภิบาล เช่น ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะ และการถูกตรวจสอบโดยสาธารณะเป็นเงื่อนไขสำคัญของประชาธิปไตย และเป็นส่วนสำคัญของการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา และการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มธุรกิจเอกชนที่ควรจะมีจิตสำนึกต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมและถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ให้แก่ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน จากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) โดยกำหนดเงื่อนไขให้ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจะต้องสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้น และมีการดำเนินการตามนโยบายสาธารณะที่ได้ตกลงไว้ในสัญญารับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้ประเทศที่ประสบปัญหาสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับสู่เสถียรภาพได้อย่างรวดเร็ว และในระยะยาวสังคมที่มีธรรมาภิบาลจะเป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความสมดุลในการบริหารบ้านเมืองและมีภูมิคุ้มกันวิกฤตที่จะเกิดขึ้นภายหลัง (ซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF และ ADB) และกลายเป็นมาตรฐานสากลที่องค์การสหประชาชาติต้องการให้เกิดขึ้นในระบบบริหารจัดการภาครัฐด้วย หลักธรรมาภิบาลสากล Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : UNESCAP ได้ให้นิยามคำว่า ธรรมาภิบาล (Good Governance) ว่ามีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้ การมีส่วนร่วม (Participation) นิติธรรม (Rule of Law) ความโปร่งใส (Transparency) การตอบสนอง (Responsiveness) การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรมและไม่ละเลยบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดออกไปจากสังคม (Equity and Inclusiveness) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) และภาระรับผิดชอบ (Accountability) ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 United Nations Development Programme : UNDP ได้ทบทวนและให้นิยามใหม่ว่าเป็นเรื่องของการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อจัดการกิจการของประเทศชาติบ้านเมือง รวมทั้งยังได้กำหนดคุณลักษณะของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาลซึ่งได้นำเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์เข้ามารวมไว้ด้วย รวม 9 ประการ ดังนี้
-
-
การมีส่วนร่วม (Participation) ชายและหญิงทุกคนควรมีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจทั้งโดยทางตรงหรือผ่านทางสถาบันตัวแทนอันชอบธรรมของตน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างนั้นต้องตั้งอิงอยู่บนพื้นฐานของการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการสามารถเข้ามีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผลในเชิงสร้างสรรค์
-
นิติธรรม (Rule of Law) กรอบตัวบทกฎหมายต้องมีความเป็นธรรม และไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน
-
ความโปร่งใส (Transparency) ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร บุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวข้องจะต้องสามารถเข้าถึงสถาบัน กระบวนการ และข้อมูลข่าวสารได้โดยตรง ทั้งนี้การได้รับข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนั้นต้องมีความเพียงพอต่อการทำความเข้าใจและการติดตามประเมินสถานการณ์
-
การตอบสนอง (Responsiveness) สถาบันและกระบวนการดำเนินงานต้องพยายามดูแลเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
-
การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus-Oriented) มีการประสานความแตกต่างในผลประโยชน์ของฝ่ายต่างๆ เพื่อหาข้อยุติร่วมกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายและกระบวนการขั้นตอนใดๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
-
ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม (Equity) ชายและหญิงทุกคนต้องมีโอกาสในการปรับปรุงสถานะหรือรักษาระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตน
-
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) สถาบันและกระบวนการต้องสร้างผลสัมฤทธิ์ที่ตรงต่อความต้องการ และขณะเดียวกันก็ต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-
ภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคมก็ตาม ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อสาธารณชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถาบันของตน
-
วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision) ผู้นำและบรรดาสาธารณชนต้องมีมุมมองที่เปิดกว้างและเล็งการณ์ไกลเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองและการพัฒนามนุษย์ (สังคม) รวมถึงมีจิตสำนึกว่าอะไรคือความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาดังกล่าว ตลอดจนมีความเข้าใจในความสลับซับซ้อนของบริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในแต่ละประเด็นนั้น
-
หลักธรรมาภิบาล เข้าใจและปฏิบัติตามง่ายกว่าที่คิด(จริง ๆ) ไม่ใช่งานใหม่ ไม่เพิ่มภาระ
พัฒนาการของธรรมาภิบาลในประเทศไทย
กฎระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี
-
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
-
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
-
ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ พ.ศ. 2544
-
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
-
วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
-
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2549 วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
-
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551
-
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
-
ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
แผนธรรมาภิบาลของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
-
แผนปฏิบัติราชกาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
-
แผนปฏิบัติราชการ สลค. ประจำปี 2556 (ฉบับปรับปรุง ณ เดือนมกราคม 2556)
-
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2555-2558) สลค. (ฉบับปรับปรุง ณ เดือนมกราคม 2556)
-
แผนยุทธศาสตร์ สลค. (พ.ศ. 2555-2558) (ฉบับปรับปรุง ณ เดือนมกราคม 2556)
-
แผนบริหารความเสี่ยง สลค. ประจำปีงบประมาณ 2556
-
มาตรการเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุการณ์อุทภภัยของ สลค.
-
การการควบคุมภายใน สลค. ประจำปี 2555
-
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2555-2558) (ฉบับปรับปรุง)
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีขึ้นเพื่อให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีประกอบด้วยนโยบายหลักและแนวปฏิบัติตามนโยบายด้านต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอันจะทำให้ สลค. เป็น “องค์การที่ดี” ของทุกคน
นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของ สลค. ประกอบด้วยนโยบายหลัก 4 ด้าน ซึ่งภายใต้นโยบายทั้งสี่จะประกอบด้วยนโยบายย่อยต่าง ๆ ดังนี้
download นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
หลังจากที่ได้รู้จักนโยบายหลักทั้ง 4 ด้านของนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของ สลค. แล้ว คราวนี้เรามาดูกันว่าภายใต้นโยบายหลักเหล่านั้น มีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะช่วยผลักดันให้นโยบายทั้ง 4 ด้านเกิดขึ้นจริง ซึ่งในที่นี้คงจะไม่สามารถให้รายละเอียดของทุกนโยบายได้ จึงจะขอยกตัวอย่างมาตรการ/โครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ ๆ ของแต่ละนโยบายเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า เมื่อ สลค. จะสามารถดำเนินการตามนโยบายเหล่านั้นได้อย่างไร
จรรยาข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คำว่า “จรรยา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 78 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้
ดังนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้เห็นชอบให้คณะทำงานส่งเสริมธรรมาภิบาลของ สลค. มีหน้าที่ในการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ สลค. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2552 ซึ่งคณะทำงานส่งเสริมธรรมาภิบาลของ สลค. ได้ดำเนินการยกร่างข้อบังคับฯ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
“ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2552” ซึ่งเป็นกรอบมาตรฐานการประพฤติปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม ผดุงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการที่ดีของ สลค. แบ่งออกเป็น 5 เรื่องที่ข้าราชการ สลค. พึงปฏิบัติ ดังนี้
ข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมาจรรยาบรรณของ สลค. ที่ได้เคยมีการกำหนดไว้ เมื่อประกาศใช้แล้วไม่ได้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง ขาดการประชาสัมพันธ์ ดังนั้น ในขณะนี้ที่ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ สลค. ประกาศใช้แล้ว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและร่วมมือกันเพื่อให้ข้าราชการ สลค. เป็นข้าราชการที่ได้รับการกล่าวชื่นชมโดยทั่วไปว่า “ข้าราชการ สลค. เป็นแบบอย่างที่ดีงาม ผดุงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการที่ดี”
การส่งเสริมการกำกับดูแลองค์การที่ดีเป็นแนวทางหนึ่งในการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาลมาดำเนินการให้เกิดผล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมี“นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี” ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ขององค์กรที่จะดำเนินการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาลโดยนโยบายดังกล่าวจะระบุถึงแนวทางปฏิบัติขององค์กรต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ 23/2552 เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ซึ่งมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดธรรมาภิบาลภายในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้มีการดำเนินการตามกฎ ระเบียบ วินัย และจริยธรรม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้รับบริการทั้งหมด รวมทั้งชุมชนและสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อให้คณะกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลองค์กรที่ดีสามารถกำกับดูแลและส่งเสริมให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานสอดคล้องกับธรรมาภิบาลได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 ชุด ดังนี้
1. คณะทำงานกำกับดูแลระบบบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นางสาวสิบพัน วนวิสุทธิ์) เป็นประธาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
2. คณะทำงานส่งเสริมธรรมาภิบาลของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นางสาวสิบพัน วนวิสุทธิ์) เป็นประธาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์กรที่ดีของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้บริหารและบุคลากรสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ขององค์กร
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดสิทธิในการรับรู้ (Right to Know) ของประชาชนในข้อมูลข่าวสารของราชการและกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อรองรับการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 56 ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
การให้บริการข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ประกอบกับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้มีประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐ โดยเรียกสถานที่ที่จัดเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารและให้บริการว่า “ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร”
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีจุดให้บริการข้อมูลข่าวสาร ดังนี้
1.ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีและข้อมูลทั่วไป
ตั้งอยู่อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังเก่า ชั้น 1 โทรศัพท์ 0 2280 9000 ต่อ 1444, 1445
โทรสาร 0 2282 0147
2.ศูนย์บริการข้อมูลราชกิจจานุเบกษา ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษา ตั้งอยู่อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ชั้น 1 โทรศัพท์ 0 2280 9000 ต่อ 1882-1888 โทรสาร 0 2280 9048
3.จุดให้บริการข้อมูลทะเบียนฐานันดร ให้บริการข้อมูลผู้ที่ได้รับพระราชทานอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ ยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กลุ่มงานฐานันดร ตั้งอยู่อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังเก่า ชั้น 2 โทรศัพท์ 0 2280 9000 ต่อ 1872 - 1876 โทรสาร 0 2280 9086
4.จุดให้บริการข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ ให้บริการข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2475-2500 รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ตั้งอยู่อาคารห้องสมุดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โทรศัพท์ 0 2280 9000 ต่อ 1162 - 1163 โทรสาร 0 2280 6263
-
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
-
ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
-
ระเบียบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2546
-
ระเบียบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
-
ระเบียบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
-
ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงสร้างและการจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ วิธีการดำเนินงาน และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ กำหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย
เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๒๗๙ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นเป็นประมวลจริยธรรม
ข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ข้าราชการทั้งหลายเกิดสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการควรแก่ความไว้วางใจและเชื่อมั่นของปวงชนและดำรงตนตั้งมั่นเป็นแบบอย่างที่ดีงาม สมกับการเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นตัวอย่างแห่งธรรมจรรยาอันสูงสุด เพื่อใช้บังคับเป็นมาตรฐานกลางไว้ จึงมีประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน คือ มาตรฐานทางจริยธรรมซึ่งเป็นกรอบ
ความประพฤติของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดราชการพลเรือน โดยประมวล
จริยธรรมข้าราชการพลเรือนได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง วันที่
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันครบเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒) ประกอบด้วย
หมวด ๑ บททั่วไป
หมวด ๒ จริยธรรมข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย
(๑) ยึดมั่นในจริยธรรมและยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม
(๒) มีจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ความรวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
(๓) แยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่งหน้าที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน
(๔) ละเว้นจากการแสวงประโยชน์ที่มิชอบโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
(๕) เคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา
(๖) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง ให้บริการแก่ประชาชนโดยมีอัธยาศัยที่ดี และไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(๗) ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัดและรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้า และใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการดำเนินงานเพื่อการในหน้าที่ และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(๘) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษาคุณภาพและมาตรฐานแห่งวิชาชีพโดยเคร่งครัด
(๙) ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๑๐) เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงตน รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของราชการโดยรวม
หมวด ๓ กลไกและระบบการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ส่วนที่ ๑ องค์กรคุ้มครองจริยธรรม ประกอบด้วย ก.พ. คณะกรรมการจริยธรรม และกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
ส่วนที่ ๒ ระบบการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
โดยประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนในหมวดที่ ๓ ข้อ ๑๗ กำหนดให้จัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมขึ้นในทุกส่วนราชการขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรม ซึ่งมีความเห็นอิสระ โดยมีข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นขึ้นไปเป็นหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
คกก. จริยธรรมประจำ สลค.
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
กลุ่มงานจริยธรรม
คำสั่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ ๖๒/๒๕๖๕
คำสั่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ ๖๓/๒๕๖๕
ประกาศ
-
ประกาศคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางวิธีการรับข้อร้องเรียน และวิธีพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และมาตรการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงาน
-
ประกาศคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
-
ประกาศคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางวิธีการรับข้อร้องเรียน และวิธีพิจารณาข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และมาตรการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงาน
- ประกาศคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางวิธีการรับข้อร้องเรียน และวิธีพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และมาตรการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงาน ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566
PUBLISH INFOGRAPHICS
หมายเหตุ***สามารถคลิก QR code เพื่อดูเอกสารเพิ่มเติมได้
มาตรการการดำเนินการ
กรณีข้าราชการฝ่าฝืนจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนและข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการ
ตามสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1019.2 ลงวันที่ 12 มกราคม 2566 และขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการจริยธรรม
ประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2567
- ฉบับที่ 2 เดือนสิงหาคม 2567
- ฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2567
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2566
- ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2566
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2565
- ฉบับที่ 1 เดือนกันยายน 2565
- ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2565
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2564
- ฉบับที่ 1 เดือนกันยายน 2564
- ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2564
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2563
- ฉบับที่ 1 เดือนธันวาคม 2563
- ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2563
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2561
- ฉบับที่ 1 เดือนธันวาคม 2561
- ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2561
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2560
- ฉบับที่ 1 เดือนกันยายน 2560
- ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2560
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2559
- เดือนกันยายน 2559
- เดือนพฤศจิกายน 2558
พฤติกรรมที่เป็นแบบอย่าง ปีงบประมาณ 2558
- เดือนกรกฎาคม 2558
- เดือนมกราคม 2558
การประเมินองค์กรคุณธรรม ปี2566
การประเมินองค์กรคุณธรรม ปี2567
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๕๕๑
มาตรา ๓๔ กำหนดให้การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และคุณภาพชีวิตที่ดี มาตรา ๗๘ กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้ โดยมุ่งประสงค์ให้ข้าราชการที่ดีมีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ
นโยบายรัฐบาล
นโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ด้านการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ : ข้อ ๑๐.๕ ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาว ใช้เวลานาน ซ้ำซ้อนและเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน
มติคณะรัฐมนตรี
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ให้หน่วยงานภาครัฐ นำแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแปลงไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๕ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๕
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงทุกกระทรวง ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ทุกส่วนราชการ โดยให้เป็นส่วนราชการตามมาตรา ๓๑ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ และให้รองหัวหน้าส่วนราชการทำหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอีกตำแหน่งหนึ่ง
ยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ.๒๕๕๒ -๒๕๕๕
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เสริมสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ให้หน่วยงานภาครัฐบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์ มุ่งส่งเสริม เสริมสร้าง จิตสำนึกและค่านิยม ให้แก่หน่วยงานภาครัฐบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาล โดยมีทัศนคติ วิสัยทัศน์ ในการร่วมกันแก้ไขและรับผิดชอบต่อปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบภาครัฐ รวมทั้งการรณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ทุกภาคส่วนมีวินัย เคารพกฎหมาย กฎ และระเบียบ ที่จะเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหา การพัฒนา ตลอดจนเป็นการวางรากฐานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการ/แนวทางดำเนินงาน
๑.๑ ส่งเสริมการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๑.๑ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วน ให้ปฏิบัติงานและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๑.๒ ประยุกต์การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดมรรคผลในทางปฏิบัติ
๑.๑.๓ จัดให้มีหลักสูตรการเรียนรู้หรือการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ทุกภาคส่วน
๑.๒ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับได้เรียนรู้และปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยหลักธรรมาภิบาล
๑.๒.๑ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งมีการฝึกอบรมเพื่อให้ปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล
๑.๒.๒ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ประพฤติปฏิบัติตน ตามมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม
๑.๒.๓ ควบคุม กำกับ ดูแล การปฏิบัติงาน การประพฤติปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นไป ตามหลักธรรมาภิบาลและมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม
๑.๓ กำหนดให้มีหลักสูตรทางการศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๑.๓.๑ จัดให้มีหลักสูตรทางการศึกษา/หลักสูตรการฝึกอบรม ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๑.๓.๒ กำหนดให้หลักสูตรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐเป็นหลักสูตรบังคับที่ใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับ
๑.๓.๓ ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๑.๔ ส่งเสริมค่านิยมการยกย่องและเชิดชูความดี ความซื่อสัตย์สุจริต และการต่อต้านการทุจริต โดยให้ยึดถือเป็นค่านิยมกระแสหลักของชาติ
๑.๔.๑ ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
๑.๔.๒ รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้สังคมมีค่านิยม ยกย่อง เชิดชู และเห็นคุณค่าของการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม
๑.๔.๓ ส่งเสริม เชิดชู หน่วยงานหรือบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๑.๔.๔ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างค่านิยมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
วัตถุประสงค์ มุ่งประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชนให้เป็นกลไกในการตรวจสอบ ถ่วงดุล รวมถึงการสร้างหลักประกันความปลอดภัยในการแจ้งข้อมูลหรือเบาะแสในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรการ/แนวทางดำเนินงาน
๒.๑ บูรณาการหน่วยงานภาครัฐกับองค์กรทุกภาคส่วนในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๒.๑.๑ ประสานความร่วมมือทางด้านข้อมูลและการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับองค์กรทุกภาคส่วน
๒.๑.๒ ให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์การข่าวกลาง” เพื่อดำเนินการจัดระบบการข่าวเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ตลอดจนการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการทุจริต หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐจากทุกหน่วยงาน เพื่อนำไปประมวล วิเคราะห์ เพื่อใช้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๒.๑.๓ ส่งเสริม สนับสนุน องค์กรและบุคลากรทางด้านสื่อสารมวลชนให้มีความเข้มแข็ง และเป็นอิสระในการทำหน้าที่ตรวจสอบและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้สาธารณชนรับทราบ
๒.๑.๔ ส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ มีระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อทำการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ โดยให้มีเว็บบอร์ด เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
๒.๒ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ การทุจริตหรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ
๒.๒.๑ เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ภาคประชาชนมีความตื่นตัวต่อสภาพปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
๒.๒.๒ สร้างและพัฒนาช่องทางในการรับแจ้งข้อมูลหรือเบาะแสให้มีความสะดวก หลากหลาย รวมทั้งสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้แก่บุคคลหน่วยงานหรือข้อมูลนั้น
๒.๒.๓ ส่งเสริมสิทธิในการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
๒.๒.๔ กำหนดมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส ให้ได้รับรางวัลตอบแทน
๒.๒.๕ ให้องค์กรหรือบุคลากรด้านสื่อสารมวลชนเป็นสื่อกลางในการแสวงหาความร่วมมือเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
วัตถุประสงค์ มุ่งพัฒนาระบบและกลไกในการตรวจสอบ ควบคุม และถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ระดับภูมิภาค สร้างกลไก ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนให้มีศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการทุจริตหรือเป็นอุปสรรคต่อการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการคุ้มครองพยานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ส่งเสริมความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกับองค์กรอื่นระหว่างประเทศ
มาตรการ/แนวทางดำเนินงาน
๓.๑ พัฒนาระบบและกลไกในการตรวจสอบ ควบคุม และถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เหมาะสม ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
๓.๑.๑ ให้หน่วยงานภาครัฐที่มีพันธกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีโครงสร้างของหน่วยงาน อัตรากำลัง การบริหารงานบุคคล และงบประมาณที่เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจและความรับผิดชอบ
๓.๑.๒ ให้หน่วยงานภาครัฐแต่ละองค์กร สร้างระบบการตรวจสอบการบริหารราชการ โดยกำหนดให้แยกอำนาจการบริหารงานออกจากอำนาจการพิจารณาคดี เพื่อสามารถถ่วงดุลหรือยับยั้งอีกอำนาจหนึ่งได้
๓.๑.๓ สนับสนุนให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง
๓.๑.๔ ให้หน่วยงานภาครัฐ ควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลการใช้อำนาจในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
๓.๑.๕ ให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำดัชนีชี้วัดความโปร่งใสและเกณฑ์มาตรฐานกลางความโปร่งใสของแต่ละหน่วยงาน โดยให้มีหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินการ
๓.๒ ส่งเสริมการกระจายอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐไปสู่ระดับภูมิภาค
๓.๒.๑ สนับสนุนให้มีการจัดโครงสร้าง การบริหารงานบุคคล และงบประมาณจากส่วนกลางสู่ระดับภูมิภาค
๓.๒.๒ ให้หน่วยงานภาครัฐส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลการบริหารราชการ
๓.๒.๓ ให้หน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาคแต่ละองค์กรมีระบบการควบคุมการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม
๓.๒.๔ ให้มีระบบการรายงานและติดตามประเมินผลการดำเนินงานต่อส่วนกลาง
๓.๓ สร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนให้มีศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๓.๓.๑ วางแนวทางและส่งเสริมบทบาทความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนหรือหน่วยงานตรวจสอบภายนอก ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๓.๓.๒ สนับสนุนให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตภาครัฐ
๓.๔ เสริมสร้างประสิทธิภาพของกฎหมายเพื่อใช้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๓.๔.๑ ให้มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เอื้อประโยชน์ต่อการทุจริต หรือเป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ หรือเพื่อให้ทันสมัยต่อสภาพปัญหาการทุจริตภาครัฐในปัจจุบัน
๓.๔.๒ ให้หน่วยงานภาครัฐบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคโดยเคร่งครัด
๓.๔.๓ พัฒนาระบบการสืบสวนสอบสวนหรือการไต่สวนข้อเท็จจริงให้รวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
๓.๔.๔ สร้างกลไกในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแล ติดตามการกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ
๓.๔.๕ จัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ให้สามารถตรวจสอบสถานภาพบุคคล พฤติการณ์การกระทำผิด ตลอดจนทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๓.๔.๖ สร้างกลไกในการปกป้องเจ้าหน้าที่ของรัฐด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ที่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
๓.๕ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ
๓.๕.๑ ประสานความร่วมมือกับองค์กรระดับนานาชาติเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๓.๕.๒ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการยึด อายัดและนำทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดเกี่ยวกับการทุจริตภาครัฐมาดำเนินคดีในประเทศ
๓.๕.๓ สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้เข้าร่วมพันธกรณีเป็นสมาชิกองค์กรต่อต้านการทุจริตระดับนานาชาติ
๓.๖ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการคุ้มครองพยาน
๓.๖.๑ สร้างหลักประกันความปลอดภัยโดยกำหนดมาตรการและแผนงานในการคุ้มครองพยาน
๓.๖.๒ ควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองพยาน
๓.๖.๓ พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านการคุ้มครองพยาน
๓.๗ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๓.๗.๑ สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ดำเนินการจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ที่มีความทันสมัยมาใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
๓.๗.๒ สนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๓.๗.๓ ให้มีการวางระบบฐานข้อมูลด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐของแต่ละหน่วยงาน เพื่อรวบรวมและนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งข้อมูลข่าวสาร งานวิจัยและงานวิชาการต่างๆ
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
วัตถุประสงค์ มุ่งพัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้สัมฤทธิผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาการทุจริตให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง สร้างมาตรฐานทางวิชาชีพให้สามารถร่วมมือหรือประสานการปฏิบัติกับองค์กรทุกภาคส่วน รวมถึงองค์กรอื่นระหว่างประเทศ
มาตรการ/แนวทางดำเนินงาน
๔.๑ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถเจ้าหน้าที่ของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๔.๑.๑ กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
๔.๑.๒ กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบัน จัดทำหลักสูตรการศึกษา และ/หรือ หลักสูตรการฝึกอบรมของวิชาชีพด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๔.๑.๓ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อมูลข่าวสารด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐระหว่างประเทศให้เป็นปัจจุบัน
๔.๑.๔ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลความรู้ทางวิชาการเพื่อให้มีกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนให้มีการศึกษาตัวอย่างกรณี (case study)
๔.๑.๕ ส่งเสริมให้มีการวิจัยด้านต่าง ๆ อาทิ การใช้อำนาจของผู้บริหารที่เอื้อประโยชน์ต่อการทุจริต การจัดทำสัญญาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การทุจริตเชิงนโยบาย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อนำผลการวิจัยไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๔.๒ สร้างมาตรฐานทางวิชาชีพด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
๔.๒.๑ ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐที่มีพันธกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐร่วมกันสร้างมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ
๔.๒.๒ กำหนดให้มีมาตรฐานเกี่ยวกับค่าตอบแทนของวิชาชีพ
๔.๒.๓ กำหนดให้มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการติดตามประเมินผล รวมถึงการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ
กิจกรรมเสริมสร้าง/ส่งเสริมจริยธรรมของ สลค.
กิจกรรมศึกษาดูงาน
ภาพกิจกรรมเมื่อวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2567 ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง และพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดปทุมธานี
กิจกรรมเสริมสร้างจริยธรรมของสวัสดิการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นางสาวสาวิตรี ชํานาญกิจ และ นายนรุตม์ ธัญวงษ์) พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ร่วมกิจกรรมเสริมสร้างจริยธรรมของสวัสดิการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป ในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ณ บริเวณสนามหญ้าด้านหน้าอาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล
NO GIFT POLICY
การประชุมเพื่อมอบนโยบายและร่วมแสดงเจตนารมณ์ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) และการขับเคลื่อน
หน่วยงานให้เป็นองค์กรคุณธรรม เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
Infographic NO GIFT POLICY
กิจกรรมสร้างการรับรู้และรณรงค์สร้างวัฒนธรรมและค่านิยมสุจริตในการปฏิบัติงาน โดยเผยแพร่ Infographic งดรับ งดให้ ของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในที่ทำงานในหัวข้อ “พฤติกรรมที่ควรทำ/ไม่ควรทำในที่ทำงาน”
กิจกรรมประกวดสื่อการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในที่ทำงานภายใต้แนวคิด/วิธีแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม ในหัวข้อ “พฤติกรรมที่ควรทำ/ไม่ควรทำในที่ทำงาน” เริ่มจัดกิจกรรมเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกและติดสินผลงานตามกิจกรรมประกวดสื่อฯ
- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินกิจกรรมการประกวดสื่อฯ
- ประกาศคณะกรรมการตรวจสอบผลงาน
- ประกาศผลการตัดสินผลงาน
- ผลงานส่งเข้าประกวด
๑. ทีม I Hate Monday
๒. นางสาวธัญญารัตน์ เกตุแก้ว
๓. ทีม อัพเกรดชีวิต
๔. ทีม นายวณิช ที่ 1 กับพวก
๕. นางสาวอังขณา หมายสุข
๖. ทีม วัยรุ่นปวดหลัง
๗. ทีม อาลักษณ์
โปสเตอร์ สลค. ร่วมสร้างสังคมที่ดีในสถานที่ทำงาน
เผยแพร่ Infographic เพื่อรณรงค์สร้างสังคมที่ดีในสถานที่ทำงาน และสร้างค่านิยมไม่ทนและไม่ยอมรับพฤติการณ์การฝ่าฝืนจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตาม
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนและข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการ ในช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ สลค. Facebook : SOC Ethsic
บอร์ดประชาสัมพันธ์ และหนังสือราชการเวียนภายใน สลค. เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามทุจริต
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแก่บุคลากรสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) ณ ห้องราชดำเนิน ชั้น 1 โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 เวลา 09.00 - 16.00 น.
กิจกรรมศึกษาดูงาน
ภาพกิจกรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และศึกษาดูงาน ณ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง
กิจกรรมศึกษาดูงาน
ภาพกิจกรรมเมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพกิจกรรมนิทรรศการ
กิจกรรมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และพระบรมราโชวาท เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องชำนาญอักษร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ภาพกิจกรรมนิทรรศการ
ภาพกิจกรรมนิทรรศการ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม ระหว่างวันที่ 4 - 8 ธันวาคม 2560 ณ ห้องชำนาญอักษร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กิจกรรมจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์
บุคลากรสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ เพื่อถวายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 18 – 30 สิงหาคม 2560 ณ ห้องชำนาญอักษร อาคารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(หลังใหม่) โดยได้นำดอกไม้จันทน์จำนวน 2,090 ดอก ส่งมอบให้ผู้อำนวยการเขตดุสิต เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ภาพกิจกรรมนิทรรศการ
กิจกรรมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และร่วมลงนามถวายพระพร ระหว่างวันที่ 24 – 28 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องชำนาญอักษร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมณ์
นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมณ์ในการเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี “ซื่อสัตย์สุจริตในการบริหารงานและการปฏิบัติราชการ” วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560
กิจกรรมศึกษาดูงาน
ภาพกิจกรรมเมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2560 ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ และเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2556
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2556
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2556
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2556
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2556
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2556
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 4 เดือนมิถุนายน 2556
-
จดหมายข่าวกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ฉบับที่ 5 เดือนกรกฎาคม 2556
สารธรรม + อภิบาล ปี2567
สารธรรม + อภิบาล ปี2565
สารธรรม + อภิบาล ปี2564
สารธรรม + อภิบาล ปี2563
สารธรรม + อภิบาล ปี2562
สารธรรม + อภิบาล ปี2561
สารธรรม + อภิบาล ปี2561
สารธรรม + อภิบาล ปี2560
สารธรรม + อภิบาล ปี2559
สารธรรม + อภิบาล ปี2558
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 3 เดือนกันยายน 2558
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 2 เดือนกันยายน 2558
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2558
สารธรรม + อภิบาล ปี2557
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 6 เดือนกันยายน 2557
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 4 เดือนกรกฎาคม 2557
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 3 เดือนมิถุนายน 2557
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 2 เดือนเมษายน 2557
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2557
สารธรรม + อภิบาล ปี2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 8 เดือนตุลาคม 2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 7 เดือนกันยายน 2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 6 เดือนสิงหาคม 2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 5 เดือนกรกฎาคม 2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 4 เดือนมิถุนายน 2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 3 เดือนพฤษภาคม 2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 2 เดือนเมษายน 2556
-
สารธรรม + อภิบาล ฉบับ 1 เดือนมีนาคม 2556
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 9 กรกฏาคม 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 21 กรกฏาคม 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 28 กรกฏาคม 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 4 สิงหาคม 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 13 สิงหาคม 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 1 กันยายน 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 14 กันยายน 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 22 กันยายน 2552
-
เพื่อนขอพูด ประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2552
สื่อรณรงค์ป้องกันการทุจริต 5 เรื่อง ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุน ป.ป.ช.
- สปอต_ตัดวงจรสินบนไม่ทนทุกการทุจริต 3 เรื่อง
- สปอต_Motion การ์ตูน 10 ตอน
- ซีรีส์_ขบวนการใต้โต๊ะ 8 ตอน
- คลิป_บุคคลต้นแบบ 20 เรื่อง
- มินิซีรีส์_Bangkok Dystopia 3 ตอน
มาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ
จำขึ้นใจ
-
แบบทดสอบจริยธรรมในการทำงาน
-
แบบทดสอบ คุณเป็นคนที่น่าไว้วางใจแค่ไหน
พระบรมราโชวาท
-
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๕๒
วาทะดีๆ
-
วาทะดีๆ
-
ประทับไว้ในหัวใจ
-
การทุจริตคอร์รัปชัน โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 20
-
คำกล่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในพิธีมอบรางวัลเพชรน้ำเอกในวงราชการ ประจำปี 2551