วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนปฏิบัติราชการ / เป้าประสงค์


วิสัยทัศน์ :

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี

พันธกิจ :

๑.ใช้องค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่สำคัญ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน

๒. สนับสนุนและประสานงานราชการกับส่วนราชการในพระองค์และรัฐสภา

ค่านิยมหลัก : CABINET

C = Confidential คือ การรักษาความลับของราชการ
A = Accuracy คือ ความแม่นยำ
B = Best Expertise คือ ความเชี่ยวชาญอย่างดีเยี่ยม
I = Integrity คือ การยืนหยัดในความถูกต้อง
N = Networking and Teamwork คือ การสร้างเครือข่ายและการทำงานเป็นทีม
E = Express คือ ความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
T = Transparency คือ ความโปร่งใสตรวจสอบได้

ค่าวัฒนธรรมหลัก : SAFE

S = Secrecy คือ การรักษาความลับของราชการ
A = Accuracy คือ การคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำของงาน
F = Fastness คือ การปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
E = Efficiency & Explainability คือ การทำงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสสามารถตรวจสอบและอธิบายได้

 

แผนปฏิบัติราชการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนา

แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๑

การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และนำเสนอเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๑.๑ ส่วนราชการที่จะเสนอเรื่องมีความเข้าใจและปฏิบัติตาม พ.ร.ฎ. เสนอเรื่องฯ อย่างเคร่งครัด

๑.๑.๑ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีมีความถูกต้องตาม พ.ร.ฎ.เสนอเรื่องฯ (กนธ., กวค., กสค., กอค.)

๑.๒ บุคลากรสามารถใช้องค์ความรู้ในการวิเคราะห์เรื่องอย่างรอบด้าน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน

๑.๒.๑ ระดับคะแนนคุณภาพของข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี (กนธ., กวค., กสค., กอค.)

๑.๒.๒ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีที่มีความเห็นของ สลค. ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (กนธ., กวค., กสค., กอค.)

๑.๒.๓ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติตามความเห็นของ สลค. (กนธ., กวค., กสค., กอค.)

๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีมีความถูกต้อง ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้

๑.๓.๑ จำนวนมติคณะรัฐมนตรีหรือข้อสั่งการที่ส่วนราชการขอทบทวนเนื่องจากคลาดเคลื่อนหรือไม่ชัดเจนในสาระสำคัญ (กนธ., กพต., กวค., กสค., กอค.)

๑.๓.๒ ร้อยละความสำเร็จของการตรวจสอบร่างอนุบัญญัติแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด (กคอ.)

๑.๔ การจัดประชุมคณะรัฐมนตรีมีมาตรฐานและพร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

๑.๔.๑ ร้อยละความพึงพอใจของผู้ประสานงานในการจัดประชุมคณะรัฐมนตรี (กปค.)

๑.๔.๒ จำนวนครั้งของการผลิตเอกสารเรื่องจำเป็น/เร่งด่วน ไม่ทันต่อการประชุม/การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (กปค.)

แนวทางการพัฒนา

๑) สร้างความเข้าใจให้แก่ส่วนราชการเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการเสนอเรื่องฯ ตาม พ.ร.ฎ. เสนอเรื่องฯ (ระเบียบฯ และแนวทางปฏิบัติ) อย่างต่อเนื่อง

๒) พัฒนา/ถ่ายทอด/บริหารจัดการองค์ความรู้ในการวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีและการจัดทำร่างมติคณะรัฐมนตรี

๓) เสริมสร้าง/พัฒนาเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติในการจัดประชุมคณะรัฐมนตรี

๔) จัดทำและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน

แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๒

การพัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี และพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเสนอแนะเชิงนโยบาย

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๒.๑ ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีตามระยะเวลาที่กำหนด

๒.๑.๑ ร้อยละความสำเร็จในการประสานงาน/ติดตามให้ส่วนราชการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ภายในระยะเวลาที่กำหนด (กสค.)

๒.๒ คณะรัฐมนตรีมีข้อมูลการติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ

๒.๒.๑ จำนวนประมวลมติคณะรัฐมนตรีที่รวบรวมผลการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรี  อย่างครบถ้วน ที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กพต.)

แนวทางการพัฒนา

๑) พัฒนาฐานข้อมูลการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี

๒) พัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี

๓) พัฒนากลไก ปคร.

๔) พัฒนาองค์ความรู้ในการติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี

๕) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ทันต่อสถานการณ์ และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๓

การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๓.๑ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์เป็นไปตามโบราณประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติที่สมพระเกียรติ

๓.๑.๑ จำนวนครั้งที่การปฏิบัติงานหน้าพระที่นั่งผิดพลาด (กอค.)

๓.๑.๒ จำนวนครั้งที่การขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่าง ๆ ผิดพลาด (กอค.)

๓.๑.๓ ร้อยละขององค์ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านราชการในพระองค์ที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กอค.)

๓.๒ การเสริมสร้างทักษะชีวิต สร้างเครือข่ายกิจกรรมที่นำไปใช้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการปลูกจิตสำนึกความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์

๓.๒.๑ นักเรียนทุนฯ ม.ท.ศ. ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะชีวิตการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
ความรับผิดชอบต่อสังคม และการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณไม่น้อยกว่าร้อยละที่กำหนด (กพน.)

๓.๒.๒ ร้อยละของนักเรียนทุนฯ ม.ท.ศ. คงสภาพการเป็นนักเรียนทุนได้ตลอดปีการศึกษาและมีผลการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (กพน.)

๓.๒.๓ ร้อยละของนักเรียนทุนจบการศึกษาตามหลักสูตรที่กำหนด (กพน.)

แนวทางการพัฒนา

๑) พัฒนาองค์ความรู้/คู่มือ/แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับราชการในพระองค์

๒) พัฒนาระบบงานและฐานข้อมูลเกี่ยวกับราชการในพระองค์

๓) พัฒนาเครือข่ายการประสานงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์

๔) พัฒนาบุคลากรด้านราชการในพระองค์

๕) พัฒนาความรู้ ทักษะชีวิต การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ความรับผิดชอบต่อสังคม
และการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๔

การพัฒนากระบวนการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญในราชกิจจานุเบกษา

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๔.๑ ระบบงานราชกิจจานุเบกษามีมาตรฐาน

๔.๑.๑ จำนวนครั้งที่ไม่สามารถนำเรื่องประกาศในราชกิจจานุเบกษาบนเว็บไซต์ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (กรจ.-กอค.)

๔.๒ สลค. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กฎหมาย และข้อมูลสำคัญ

๔.๒.๑ ร้อยละของจำนวนกฎหมายและข้อมูลสำคัญที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ สลค. (กนธ., กบส., กรจ.-กอค.)

๔.๓ ประชาชนรับรู้ข้อมูลสำคัญในราชกิจจานุเบกษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว

๔.๓.๑ จำนวนครั้งที่ไม่สามารถนำเรื่องสำคัญประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างถูกต้อง (กรจ.-กอค.)

แนวทางการพัฒนา

๑) พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบงานราชกิจจานุเบกษาให้มีประสิทธิภาพ

๒) พัฒนาระบบและฐานข้อมูลกฎหมาย

๓) พัฒนากระบวนการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาให้รองรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

๔) พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะรองรับเทคโนโลยีในการเผยแพร่

 

แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ ๕

การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในภารกิจหลักที่เกี่ยวข้อง

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๕.๑ บุคลากรมีศักยภาพสูงและปฏิบัติงานได้ในทุกสถานการณ์ เอื้อต่อการพัฒนาองค์กร สลค. ในอนาคต

๕.๑.๑ จำนวนขององค์ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กพร./กอง/กลุ่ม/ศูนย์)

๕.๑.๒ ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาในแต่ละปี เทียบกับบุคลากรทั้งหมด (กพร.)

๕.๒ ระบบการบริหารจัดการและระบบงานมีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และทันสมัย

๕.๒.๑ ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) (สลธ.)

(๑) เส้นทางก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)

(๒) แผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan)

๕.๒.๒ ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนสร้างความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อ สลค. ประจำปี (สลธ.)

๕.๒.๓ ร้อยละความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อ สลค. (สลธ.)

๕.๒.๔ ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สลธ.)

๕.๒.๕ ผลการประเมินเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) (กพร./กอง/กลุ่ม/ศูนย์)

๕.๒.๖ ร้อยละของความสำเร็จในการจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กบส.)

๕.๓ การส่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

๕.๓.๑ ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน (ITA) (ศปท./กอง/กลุ่ม/ศูนย์)

แนวทางการพัฒนา

๑) พัฒนาบุคลากรให้สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง/การพัฒนาในอนาคต และมีทักษะในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง (พัฒนาอย่างต่อเนื่อง)

๒) พัฒนาบุคลากรให้รองรับการเปลี่ยนแปลง (ทุกกลุ่มภารกิจ)

๓) พัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล

๔) พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และทันสมัย

๕) ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย และสนับสนุนการปฏิบัติงานได้ในทุกสถานการณ์

๖) การนำนวัตกรรมมาสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงสุด และนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง

๗) ส่งเสริมและพัฒนากลไกธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของท่านได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ เพื่อจดจำตัวเลือกต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรียังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และ ไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

บันทึกการตั้งค่า