ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48


(17 เมษายน 2535 – 10 มิถุนายน 2535)

พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในวันที่ 17 เมษายน 2535 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

วันที่ 17 เมษายน 2535
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 51 ก)

1. นายมีชัย ฤชุพันธุ์

เป็นรองนายกรัฐมนตรี

2. นายณรงค์ วงศ์วรรณ

เป็นรองนายกรัฐมนตรี

3. พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์

เป็นรองนายกรัฐมนตรี

4. นายมนตรี พงษ์พานิช

เป็นรองนายกรัฐมนตรี

5. นายสมัคร สุนทรเวช

เป็นรองนายกรัฐมนตรี

6. นายใหม่ ศิรินวกุล

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

7. นายชัชวาลย์ ชมภูแดง

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

8. นายกร ทัพพะรังสี

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

9. นายสุชน ชามพูนท

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

10. นายวัฒนา อัศวเหม

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

11. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

12. นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

13. นายทินพันธุ์ นาคะตะ

เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

14. พลเอก สุจินดา คราประยูร

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

15. พลเอก ชัชชม กันหลง

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

16. นายสุธี สิงห์เสน่ห์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

17. นายชวลิต โอสถานุเคราะห์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

18. นายปองพล อดิเรกสาร

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

19. นายสมบัติ ศรีสุรินทร์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

20. นายพินิจ จันทรสุรินทร์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

21. นายสันติ ชัยวิรัตนะ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

22. นายยุทธ อังกินันทน์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

23. นายวโรทัย ภิญญสาสน์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

24. นายบรรหาร ศิลปอาชา

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

25. นายเสนาะ เทียนทอง

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

26. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

27. นายกำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

28. นาอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

29. หม่อมราชวงศ์ปรีดียากร เทวกุล

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

30. นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

31. นางพวงเล็ก บุญเชียง

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

32. พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

33. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

34. นายวีระ ปิตรชาติ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

35. นายสุชาติ ตันเจริญ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

36. นายประภัตร โพธสุธน

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

37. นายสวัสดิ์ คำประกอบ

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

38. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

39 นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

40. พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

41. นายชูชีพ หาญสวัสดิ์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

42. นายไพโรจน์ เครือรัตน์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

43. นายเงิน บุญสุภา

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

44. นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

45. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

46. นายจรูญ งามพิเชษฐ์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

47. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

48. นายเรืองวิทย์ ลิกค์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

49. นายอดุมศักดิ์ ทั่งทอง

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

50. นายทวิช กลิ่นประทุม

เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

คณะรัฐมนตรีชุดที่ 48 มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

วันที่ 26 พฤษภาคม 2535 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 67 ก)รัฐมนตรีลาออก

พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์

ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2535 มีการประชุมประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังธรรม เข้าเฝ้าฯ เพื่อแก้ไขสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังเลวร้ายลงทุกขณะ ต่อมาพลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 นายมีชัย ฤชุพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีแทนเป็นการชั่วคราว จนกระทั่ง มีการแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของท่านได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ เพื่อจดจำตัวเลือกต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรียังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และ ไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

บันทึกการตั้งค่า