ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 29
(10 กุมภาพันธ์ 2502 – 8 ธันวาคม 2506)
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
1. พลเอก ถนอม กิตติขจร |
เป็นรองนายกรัฐมนตรี |
2. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
เป็นรองนายกรัฐมนตรี |
3. พลเอก ถนอม กิตตขจร |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม |
4. นายโชติ คุณะเกษม |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
5. นายถนัด คอมันตร์ |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ |
6. นายสวัสดิ์ มหาผล |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร |
7. พลตรี พงษ์ ปุณณกันต์ |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม |
8. พลโท ประภาส จารุเสถียร |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
9. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ์ จุณณานนท์) |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม |
10. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ |
11. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ |
12. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ |
13. พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข |
14. นายบุณย์ เจริญไทย |
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม |
รัฐบาลนี้แถลงนโยบายต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทราบ ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2502 (ไม่มีการให้ความไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญการปกครอง)
นโยบายของรัฐบาลคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2502 เล่ม 76 ตอน 23 หน้า พ.4
คณะรัฐมนตรีมีการเปลี่ยนแปลง คือ