ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 20


 (25 กุมภาพันธ์ 2491 – 8 เมษายน 2491)

นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2490 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย กรมขุนชัยนาทนเรนทร พระองค์เจ้าอลงกฎ พระองค์เจ้าธานีนิวัตพระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) และนายพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส เป็นผู้ลงนามในประกาศกรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะอภิรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2491 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

1. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

2. พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

3. พลเรือตรี เล็ก สุมิตร

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

4. พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข นักรบ)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

5. นาวาเอก พระยาวิชิตชลธี (ทองดี สุวรรณพฤกษ์)

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

6. หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

7. พันเอก น้อม เกตุนุติ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

8. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

9. นายชม จารุรัตน์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

10. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

11. นายควง อภัยวงศ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

12. นายศรีเสนา สมบัติศิริ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

13. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ์ จุณณานนท์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

14. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

15. นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

16. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์

เป็นรัฐมนตรี

17. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

เป็นรัฐมนตรี

18. นายใหญ่ ศวิตชาต

เป็นรัฐมนตรี

19. นายเลื่อน พงษ์โสภณ

เป็นรัฐมนตรี

20. นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์

เป็นรัฐมนตรี

21. นายถัด พรหมมานพ

เป็นรัฐมนตรี

22. นายฟอง สิทธิธรรม

เป็นรัฐมนตรี

23. นาวาอากาศเอก หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร

เป็นรัฐมนตรี

24. นายชวลิต อภัยวงศ์

เป็นรัฐมนตรี

ประกาศเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2491

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายและรัฐสภาได้อภิปรายนโยบายของคณะรัฐมนตรีแยกเป็นรายกระทรวง เมื่อวันที่ 1 ถึง วันที่ 5 มีนาคม 2491 รวม 5 วัน จึงได้ให้ความไว้วางใจ

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2491 เล่ม 65 ตอน 14 หน้า 870

หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่ วันที่ 8 เมษายน 2491 โดยอ้างในใบลานั้นว่า เนื่องจากคณะรัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่วันที่ไปแจ้ง (วันที่ 6 เมษายน 2491)