ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 18


 (31 พฤษภาคม 2490 – 8 พฤศจิกายน 2490)

พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2490 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) เป็นผู้ลงนามในประกาศ พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ประธานพฤฒสภา และนายพึ่ง ศรีจันทร์ ประธานสภาผู้แทนฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม 2490 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

1. นายเดือน บุนนาค

เป็นรองนายกรัฐมนตรี

2. พลโท จิระ วิชิตสงคราม

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

3. นายวิจิตร ลุลิตานนท์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

4. นายอรรถกิตติ พนมยงค์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

5. พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

6. นายแสง สุทธิพงศ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

7. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

8. พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

9. นายเดือน บุนนาค

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

10. พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

11. พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

12. นายเดือน บุนนาค

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

13. พันเอก ทวน วิชัยขัทคะ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

14. หม่อมเจ้านนทิยาวัต สวัสดิวัตน์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

15. นายเยื้อน พาณิชวิทย์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

16. นายจำลอง ดาวเรือง

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

17. นายทอง กันธาธรรม

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

18. นายวิโรจน์ กมลพันธ์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

19. นายชิต เวชประสิทธิ์

เป็นรัฐมนตรี

20. หลวงนรัตถรักษา (ชื่น วิจิตรเนตร)

เป็นรัฐมนตรี

21. ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์)

เป็นรัฐมนตรี

ประกาศเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2490

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2490 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2490 เล่ม 64 ตอน 26 หน้า 1464

หมายเหุต คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะได้มีการรัฐประหารขึ้นโดยคณะทหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 และใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2490 โดยให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมเสีย เป็นผลให้สภาผู้แทนและพฤฒสภาถูกยุบไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นแทน