ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10


 (7 มีนาคม 2485 – 1 สิงหาคม 2487)

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 7 มีนาคม 2485 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่น อินทรโยธิน) และนายปรีดี พนมยงค์ ลงนามในประกาศ พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการและในวันที่ 10 มีนาคม 2485 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

2. พลตรี พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม

3. พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

4. นาวาอากาศเอก เทียน เก่งระดมยิง

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

5. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

6. นายวิจิตร วิจิตรวาทการ

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

7. พลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ

8. หม่อมหลวง เดช สนิทวงศ์

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ

9. นายพันตรี ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

10. พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

11.นายอุทัย แสงมณี

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

12. พันตรี ควง อภัยวงศ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

13. พลโท มังกร พรหมโยธี

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

14. พลตำรวจตรี อดุล อดุลเดชจรัส

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

15. นายโป – ระ สมาหาร

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

16. นาวาเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

17. พันเอก ประยูร ภมรมนตรี

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

18. นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

19. นายเดือน บุนนาค

เป็นรัฐมนตรี

20. นายทวี บุณยเกตุ

เป็นรัฐมนตรี

21. พลอากาศตรี บุญเจียม โกมลมิศร์

เป็นรัฐมนตรี

22. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์

เป็นรัฐมนตรี

23. นายวนิช ปานะนนท์

เป็นรัฐมนตรี

24. พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์

เป็นรัฐมนตรี

ประกาศเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2485

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2485 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2485 เล่ม 59 ตอน 18 หน้า 518

คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ

1. พระยามไหสวรรย์ (กาย สมบัติศิริ) เป็นรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2485
2. เนื่องจากได้ประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม
จึงปรับปรุงรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พลตรี จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ
ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2485
3. นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศ แทน จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2485
4. พันตรี ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแต่งตั้งให้เป็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ พันจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้เป็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2485
5. พันเอก อุดมโยธา รัตนาวดี เป็นรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2485
6. พันตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2486
7. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2486
8. พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2486
9. พลอากาศตรี เจียม อธึกเทวเดช โกมลมิศร์ ได้ขอกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2486
10. พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2486
11. นายพลตำรวจโท อดุล อดุลเดชจรัส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรี
อีกตำแหน่งหนึ่ง
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2586
12. นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิพันลึก ทัตตานนท์ เป็นรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2486
13. นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัตรราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น
ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2486
14. นาวาอากาศเอก กาจ เก่งระดมยิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลาออกจากตำแหน่ง
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2486
15. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายกอ มไหสวรรย์ สมบัติศิริ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
พลตรี ไชย ประทีปเสน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2486
16. นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีสั่งราชการ
แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2486
17. พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2486
18. นายอุทัย แสงมณี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และแต่งตั้งให้เป็น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
แต่งตั้ง นาวาเอก สังวรณ์ สุวรรณชีพ เป็นรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2486
19. นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2487
20. พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่ประจำอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์
เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการทั้งสิ้น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ แทน
นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2487
21. พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กราบถวายบังคมลาออก
จากตำแหน่ง เพื่อดำเนินกิจการของบริษัท ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด
ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2487

หมายเหุต คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์พุทธศักราช 2487 และร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล พุทธศักราช 2487 นายกรัฐมนตรีและคณะจึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2487

ประกาศเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2487

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของท่านได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ เพื่อจดจำตัวเลือกต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรียังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และ ไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

บันทึกการตั้งค่า