ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6


 (๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ – ๙ สิงหาคม ๒๔๘๐)

นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้ลงนาม และนายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

๑. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

๒. พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

๓. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

๔. พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ

๕. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

๖. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

๗. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง

๘. นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ

๙. พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์)

เป็นรัฐมนตรี

๑๐. นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)

เป็นรัฐมนตรี

๑๑. หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูทะเตมีย์)

เป็นรัฐมนตรี

๑๒. นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)

เป็นรัฐมนตรี

๑๓. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)

เป็นรัฐมนตรี

๑๔. นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส)

เป็นรัฐมนตรี

๑๕. นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)

เป็นรัฐมนตรี

๑๖. ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท)

เป็นรัฐมนตรี

๑๗. พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)

เป็นรัฐมนตรี

ประกาศเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๗ และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกันเป็นเอกฉันท์

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๗๗ เล่ม ๕๑ หน้า ๒๐๓๔ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๗

คณะรัฐมนตรีคณะนี้ ได้มาขออนุมัติที่ประชุม เพื่อแถลงการณ์และขอความไว้วางใจต่อสภาในการที่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไป ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงสละราชสมบัติ (รัฐมนตรีไม่ได้เปลี่ยนใหม่)

๑. สภาได้ลงมติอนุมัติให้คณะรัฐมนตรีมาขอความไว้วางใจได้
๒. สภาให้ความไว้วางใจต่อไป

คณะรัฐมนตรีชุดนี้มีการเปลี่ยนแปลง คือ

๑. พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)
พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)
หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูทะเตมีย์)
นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส)
ได้กราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง ตามประกาศ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๘
๒. ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี คือ

นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

พระยามไหสวรรค์ (กวย สมบัติศิริ)

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. (สินธุ์ กมลนาวิน)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ

หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)

เป็นรัฐมนตรี

นายพันโท หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์)

เป็นรัฐมนตรี

หลวงนาถนิติธาดา (เคลือบ บุศยนาค)

เป็นรัฐมนตรี

นายนาวาเอก พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญชัย หรือ บุญรอด สวาทะสุข)

เป็นรัฐมนตรี

นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส (มิตร พึ่งพระคุณ)

เป็นรัฐมนตรี

นายพันเอก พระยาอภัยสงคราม (จอน โชติดิลก)

เป็นรัฐมนตรี

ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ ตามประกาศลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีอยู่ตามเดิม ประกาศลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๘ ได้ขอความไว้วางใจจากสภา และสภาได้ให้ความไว้วางใจในวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๘
๓. พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี ร.น. (กระแส ประวาหะนาวิน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง ตามประกาศลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘
๔. ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี คือ

พระยาไชยยศสมบัติ (สริม กฤษณามระ)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)

เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเณย์ (สละ เอมะศิริ)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ

พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ)

เป็นรัฐมนตรี

พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ้ย สมันตรัฐ หรือ บินอับดุลลาห์)

เป็นรัฐมนตรี

และมีผู้ที่คงเป็นรัฐมนตรีอยู่ต่อไป คือ

นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)

เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ

หลวงโกวิทยอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)

เป็นรัฐมนตรี

นายพันโท หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์)

เป็นรัฐมนตรี

พระดุลธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์)

เป็นรัฐมนตรี

หลวงนาถนิติธาดา (เคลือบ บุศยนาค)

เป็นรัฐมนตรี

นายนาวาเอก พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญชัย หรือ บุญรอด สวาทะสุข)

เป็นรัฐมนตรี

นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)

เป็นรัฐมนตรี

ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท)

เป็นรัฐมนตรี

พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)

เป็นรัฐมนตรี

นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส (มิตร พึ่งพระคุณ)

เป็นรัฐมนตรี

นายพันเอก พระยาอภัยสงคราม (จอน โชติดิลก)

เป็นรัฐมนตรี

ประกาศวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๘

ต่อมาพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) รัฐมนตรี ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๗๙

๕. ตั้งให้นายพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ประกาศวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๙
๖. นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส (มิตร พึ่งพระคุณ) ลาออก ประกาศวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๐
๗. ให้นายนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) เป็นรัฐมนตรี ประกาศวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๐

หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นายเลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการขายที่ดินของพระคลังข้างที่ให้แก่บุคคลบางคน และต่อจากนั้นนายไต๋ ปาณิกบุตร ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ก็ได้เสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้อภิปรายกันจนหมดเวลา และได้เลื่อนไปอภิปรายในวันต่อไป แต่นายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้สอบสวนตามความชอบธรรมและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ขอลาออกด้วย (ลาออกเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๐ ประกาศลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๔๘๐)

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของท่านได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ เพื่อจดจำตัวเลือกต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรียังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และ ไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

บันทึกการตั้งค่า