ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 5
(๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖ – ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗)
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และใน
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖ มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
๑. นายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
๓. พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
๔. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
๕. พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงธรรมการ
๖. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๗. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
๘. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
๙. พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
๑๐. พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) เป็นรัฐมนตรี
๑๑. นายเรือเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) เป็นรัฐมนตรี
๑๒. หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูทะเตมีย์) เป็นรัฐมนตรี
๑๓. นายพันโท หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) เป็นรัฐมนตรี
๑๔. พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) เป็นรัฐมนตรี
๑๕. นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรี
๑๖. พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ้ย สมันตรัฐ หรือ บินอับดุลลาห์) เป็นรัฐมนตรี
๑๗. นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) เป็นรัฐมนตรี
๑๘. นายนาวาโท หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เป็นรัฐมนตรี
๑๙. พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เป็นรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๖ และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกันเป็นเอกฉันท์
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๗๖ เล่ม ๕๐ หน้า ๒๗๒๙
คณะรัฐมนตรีมีการเปลี่ยนแปลง คือ
๑. นายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส) พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๗๖ โดยอ้างเหตุผลว่าป่วย ไม่สามารถรับราชการได้เต็มที่
๒. ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สารสาส) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๗๖
หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่รัฐบาลได้เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบด้วยความตกลงระหว่างประเทศ เรื่องควบคุมการจำกัดยางแต่สภาไม่เห็นชอบด้วย ความตกลงที่รัฐบาลได้ลงนามไปก่อน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะจึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
ประกาศลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗