ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 2
(10 ธันวาคม 2475 – 1 เมษายน 2476)
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย และเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
1. พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกรัฐมนตรี (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
2. นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. พระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ
5. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
6. พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
7. พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
8. นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา) เป็นรัฐมนตรี
9. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นรัฐมนตรี
10. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นรัฐมนตรี
11. นายพันเอก พระฤทธิอัคเณย์ (สละ เอมะศิริ) เป็นรัฐมนตรี
12. พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ – หลง) เป็นรัฐมนตรี
13. นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ์ (วัน ชูถิ่น) เป็นรัฐมนตรี
14. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นรัฐมนตรี
15. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เป็นรัฐมนตรี
16. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) เป็นรัฐมนตรี
17. หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) เป็นรัฐมนตรี
18. นายประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรี
19. นายแนบ พหลโยธิน เป็นรัฐมนตรี
20. นายตั้ว ลพานุกรม เป็นรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2475 คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. เล่ม หน้า
หมายเหตุ คณะรัฐมนตรีคณะนี้ สิ้นสุดลงโดยพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476