ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 1


 (28 มิถุนายน 2475 – 10 ธันวาคม 2475)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และ ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 สภาผู้แทนราษฎรอันประกอบด้วย สมาชิกซึ่งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งขึ้น จำนวน 70 นาย ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยที่ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 33 บัญญัติว่า “ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้หนึ่งเป็น ประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับ ความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการของสภา” ในการนี้ ได้มีสมาชิกเสนอให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธาน คณะกรรมการราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ๒๔๗๕ ประธานคณะกรรมการราษฎร ได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรและสภาได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

รายชื่อคณะกรรมการราษฎร

1. นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา)

กรรมการราษฎร

2. มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

กรรมการราษฎร

3. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

กรรมการราษฎร

4. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)

กรรมการราษฎร

5. นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเณย์ (สละ เอมะศิริ)

กรรมการราษฎร

6. อำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญหลง)

กรรมการราษฎร

7. นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ์ (วัน ชูถิ่น)

กรรมการราษฎร

8. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)

กรรมการราษฎร

9. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)

กรรมการราษฎร

10. อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

กรรมการราษฎร

11. รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)

กรรมการราษฎร

12. รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม

กรรมการราษฎร

13. รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี

กรรมการราษฎร

14. นายแนบ พหลโยธิน

กรรมการราษฎร

คณะกรรมการราษฎรคณะนี้ ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา แต่ได้ถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. เล่ม หน้าเดิมคณะรัฐมนตรี เรียกว่า คณะกรรมการราษฎร นายกรัฐมนตรี เรียกว่า ประธานคณะกรรมการราษฎร รัฐมนตรี เรียกว่า กรรมการราษฎร

คณะรัฐมนตรีคณะเริ่มแรกนี้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475เพราะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475

หมายเหตุ ในขณะที่รัฐสภากำลังเปิดประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการราษฎรอันมีพระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎรนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน ข้อกังขามายังพระยามโนปกรณนิติธาดาว่าการใช้คำว่า “กรรมการราษฎร” แทน “Minister” หรือ “เสนาบดี”ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงเห็นว่าไม่เหมาะ ในฐานะที่กรุงสยามมีกษัตริย์ “กรรมการราษฎร” หนักไปใน ทาง Commissar ของโซเวียตรัสเซีย ซึ่งปกครองโดยแบบรีปัปลิค ในรัฐสภาซึ่งถกเถียงกันถึงเรื่องนี้ มีความเห็นกันไปต่าง ๆ นานา ในที่สุด จากผลของการลงมติที่ประชุมรัฐสภาให้ใช้คำว่า “รัฐมนตรี” แทน “กรรมการราษฎร” และ ใช้คำว่า “นายกรัฐมนตรี” แทน “ประธานคณะกรรมการราษฎร” และนี่คือที่มาของคำว่า “รัฐมนตรี”

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของท่านได้โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ เพื่อจดจำตัวเลือกต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรียังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และ ไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

บันทึกการตั้งค่า