กฏหมายสำคัญในราชกิจจานุเบกษา
ชื่อเรื่อง พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕ พ.ศ. ๒๕๖๖
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
สาระสำคัญ |
- ขยายกำหนดระยะเวลาในการมีผลใช้บังคับบางมาตรา ได้แก่ มาตรา ๒๒ (ในการควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว) มาตรา ๒๓ (ในการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว) มาตรา ๒๔ (การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว) และมาตรา ๒๕ (การไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัวกรณีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว เกิดผลร้ายต่อบุคคล หรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวน) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕ ออกไป โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป - ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และหน่วยงานที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัวตามมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ เร่งเตรียมการให้มีความพร้อมรองรับการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายมีมาตรการและกลไกที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเร็ว |
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | - กระทรวงยุติธรรม - กระทรวงมหาดไทย - เจ้าหน้าที่ของรัฐ - พนักงานฝ่ายปกครอง - ผู้ถูกกระทำ - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย - ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง - ผู้ถูกควบคุมตัว - ผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกควบคุมตัว - ศาล - ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ - ผู้เสียหายหรือผู้มีส่วนได้เสีย - พนักงานอัยการ อัยการสูงสุด - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ - เจ้าหน้าที่กรมการปกครองหรือนายอำเภอ - พนักงานสอบสวนหรือพันักงานสอบสวนคดีพิเศษ - แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ |
วันที่มีผลบังคับใช้ | ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป |
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ |
ดาวน์โหลดไฟล์ |