กฏหมายสำคัญในราชกิจจานุเบกษา
ชื่อเรื่อง พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
สาระสำคัญ | - เนื่องจากผู้กระทำความผิดอาญาบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เช่น การฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่ เมื่อได้รับการถูกจำคุกจนพ้นกำหนดโทษและได้รับการปล่อยตัวสู่สังคมแล้วถึงแม้ว่าจะมีการติดตามจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจบ้างแต่ไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายและไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำผู้กระทำความผิดเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดในรูปแบบเดียวกันหรือรูปแบบใกล้เคียงกันซ้ำอีก สมควรมีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดดังกล่าว โดยกำหนดให้มีมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด มาตรการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษและมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษเพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหายจากการกระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้นอีก และเพื่อส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด |
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | - ศาล - กรมคุมประพฤติ - คณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ - ประธานศาลฎีกา - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม - อัยการสูงสุด - คณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ - พนักงานอัยการ - พนักงานคุมประพฤติ อาสาสมัครคุมประพฤติ - ผู้กระทำความผิด - กรมราชทัณฑ์ - แพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม - นักโทษเด็ดขาด - กระทรวงสาธารณสุข - หน่วยงานต่าง ๆ - ผู้เสียหาย - ทนายความ |
วันที่มีผลบังคับใช้ | - ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ |
ดาวน์โหลดไฟล์ |