กฏหมายสำคัญในราชกิจจานุเบกษา
ชื่อเรื่อง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
สาระสำคัญ | - โดยที่การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่ไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าในสถานการณ์ใด ๆ ดังนั้นเพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย สมควรกำหนดฐานความผิดมาตรการป้องกันและปราบปรามและมาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ตลอดจนมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ |
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | - กระทรวงยุติธรรม - กระทรวงมหาดไทย - เจ้าหน้าที่ของรัฐ - พนักงานฝ่ายปกครอง - ผู้ถูกกระทำ - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย - ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง - ผู้ถูกควบคุมตัว - ผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกควบคุมตัว - ศาล - ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ - ผู้เสียหายหรือผู้มีส่วนได้เสีย - พนักงานอัยการ อัยการสูงสุด - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ - เจ้าหน้าที่กรมการปกครองหรือนายอำเภอ - พนักงานสอบสวนหรือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ - แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ |
วันที่มีผลบังคับใช้ | - ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๒๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ |
ดาวน์โหลดไฟล์ |