กฏหมายสำคัญในราชกิจจานุเบกษา
ชื่อเรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
สาระสำคัญ | - เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ เกี่ยวกับมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน หน้าที่และอำนาจของสำนักงานคุ้มครองพยานและอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการคุ้มครองความปลอดภัยของพยาน และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน เพื่อให้พยานเกิดความเชื่อมั่นได้รับความคุ้มครอง และได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยกำหนดให้พยานในคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลอาญา หรือคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์หรือตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี อาจได้รับการคุ้มครองตามมาตรการพิเศษได้ โดยให้สำนักงานคุ้มครองพยานดำเนินการเพื่อคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ เช่น ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล และหลักฐานทางทะเบียน ที่สามารถระบุตัวพยานรวมทั้งการดำเนินการเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามคำของพยานด้วย นอกจากนี้ เมื่อพยานได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา หรือพนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือเบิกความต่อศาลแล้ว พยานจะมีสิทธิที่ได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตามสมควร |
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | - กระทรวงกลาโหม - กระทรวงการคลัง - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม - กระทรวงมหาดไทย - สำนักงบประมาณ - สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา - กระทรวงการต่างประเทศ - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ - สำนักงานศาลยุติธรรม - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - สำนักงานอัยการสูงสุด |
วันที่มีผลบังคับใช้ | เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป |
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ |
ดาวน์โหลดไฟล์ |