กฏหมายสำคัญในราชกิจจานุเบกษา
ชื่อเรื่อง พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
สาระสำคัญ |
- ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำาเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมและไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙๔แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหา เป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิด วินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายใน ๓ มปี นับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ - กรณีถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้น ยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายใน ๓ ปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามมาตรา ๘๗ วรรคสาม จะต้องสั่งลงโทษภายใน ๓ ปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ |
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | - ข้าราชการตำรวจ - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
วันที่มีผลบังคับใช้ | ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป |
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ๐๕ เมษายน ๒๕๖๒ |
ดาวน์โหลดไฟล์ |