กฏหมายสำคัญในราชกิจจานุเบกษา
ชื่อเรื่อง กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๓
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
สาระสำคัญ |
- กำหนดนิยาม “เหตุสุดวิสัย” ให้หมายความรวมถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดต่ออันตรายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ - กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจาก “เหตุสุดวิสัย” ดังนี้ ๑. ร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค ซึ่งไม่ได้รับค่าจ้าง โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งเก้าสิบวัน (ตั้งแต่วันที่ ๑ มี.ค. – ๓๑ ส.ค. ๖๓) ๒. ร้อยละหกสิบสองของค่าจ้างรายวัน ในกรณีเหตุสุดวิสัย ถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเองหรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินก็ตาม โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการทั้งนี้ ไม่เกินเก้าสิบวัน (ตั้งแต่วันที่ ๑ มี.ค. – ๓๑ ส.ค. ๖๓) |
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | - กระทรวงแรงงาน - สำนักงานประกันสังคม - ประชาชน (นายจ้างและผู้ประกันตนตามกฎหมายแรงงาน) |
วันที่มีผลบังคับใช้ | ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ |
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ |
ดาวน์โหลดไฟล์ |