กฏหมายสำคัญในราชกิจจานุเบกษา
ชื่อเรื่อง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๖๐
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
สาระสำคัญ |
เป็นการปับปรุงกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า โดยกำหนดให้มี คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าโดยวิธีการสรรหา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็น รัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคล กำหนดกติกาที่จะช่วยกำกับดูแลกลไกการแข่งขันทางการค้าในตลาดสินค้าและบริการเพื่อให้มีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์อย่าต่อเนื่อง ส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้มีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีทั้งหมด ๖ หมวด รวม ๙๒ มาตรา - กำหนดให้รัฐวิสาหกิจทุกประเภทต้องอยู่ภายใต้การบังคับตาม พ.ร.บ. นี้ โดยแก้ไขข้อยกเว้นกรณี จาก "เฉพาะในส่วนที่ดำเนินการตามนโยบาย ของรัฐ" เป็น "เฉพาะในส่วนที่ดำเนินการตามมติของ ครม." ที่มีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการักษาความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค เพื่อความชัดเจน ในการบังคับใช้กฎหมาย และสร้างความเป็นธรรมให้แก่การแข่งขันในตลาดสินค้า หรือบริการที่มีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ประกอบธุรกิจร่วมอยู่ด้วย - เพิ่มบทยกเว้นไม่ให้นำร่าง พ.ร.บ.ฯ ใช้บังคับแก่การกระทำของธุรกิจ ที่มีกฎหมายเฉพาะกำกับดูและในเรื่องการแข่งขันทางการค้าไว้แล้ว - แก้ไขวิธีการได้มาซึ่งกรรมการใน คกก. การแข่งขันทางการค้า จากเดิมที่ให้ดำเนินการคัดสรร เป็นวิธีการสรรหา โดยให้มี คกก.สรรหา คณะหนึ่งพิจารณาคัดเลือกเสนอต่อ รมว.พณ. เพื่อเสนอ ครม. ให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอ นรม. แต่งตั้ต่อไป - ให้ คกก. มีอำนาจหน้าที่กำกับดูและการประกอบธุรกิจและกำหนดมาตรการเพื่อให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม - กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยกำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดกระทำการตามที่กำหนด เช่น กำหนดหรือรักษาระดับราคาซื้อหรือขายสินค้าหรือค่าบริการอย่างไม่เป็นธรรม - ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเพื่อประโยชน์ในการจับกุมผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งคณะกรรมการประกาศแต่งตั้งมีอำนาจสืบสวนและสอบสวนเกี่ยวกับการกระทำความผิด พ.ร.บ. นี้เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - แก้ไขเพิ่มเติมให้ขอหมายค้นในกรณีที่จะต้องใช้อำนาจค้นตาม ป.วิ อาญา เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน - ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้มีลักษณะและสัดส่วนที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของความผิด โดยกำหนดโทษอาญาสำหรับความผิด ร้ายแรง และโทษปรับทางปกครองสำหรับกรณีที่ไม่รายงานการรวมธุรกิจ หรือการประกอบธุรกิจอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น - ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ และงบประมาณของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของ สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ไปเป็นของสำนักงาน |
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย | ประชาชนโดยทั่วไป และผู้ประกอบธุรกิจ |
วันที่มีผลบังคับใช้ | พ้นกำหนด ๙๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป |
วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | ๐๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
ดาวน์โหลดไฟล์ |