ข้อเสนอแนะ/คำถามที่พบบ่อย
คำถาม-คำตอบ (Q/A) การหารือเกี่่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี
มติคณะรัฐมนตรี คือ ผลการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจเป็นการรับทราบ การอนุมัติ การอนุญาต การให้ความเห็นชอบ การมอบหมาย หรือข้อสั่งการใด ๆ ตามแต่กรณี ที่เกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มติคณะรัฐมนตรี คือ คำสั่งหรือข้อสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารประเทศ
มติคณะรัฐมนตรีมีสถานะเป็นเพียงคำสั่งของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล มิได้มีสถานะเป็นกฎหมายและจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายไม่ได้ (แต่มติคณะรัฐมนตรีเป็นบ่อเกิดของกฎหมายและการปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายได้ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อตรา แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกกฎหมาย) ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป ยกเว้นแต่เรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มติคณะรัฐมนตรีจะสิ้นผลเมื่อ
๓.๑ สิ้นสุดระยะเวลาหรือเหตุการณ์ตามที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรี
๓.๒ มีการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้นแล้ว
๓.๓ มีมติคณะรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นภายหลังมาปรับปรุง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเดิมทั้งหมด
๓.๔ มีมติคณะรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นภายหลังขัดหรือแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเดิม (มติคณะรัฐมนตรีเดิมก็จะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย)
๓.๕ มติคณะรัฐมนตรีนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
๓.๖ ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีนั้น
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องเดียวกันหลายครั้งหน่วยงานของรัฐจะต้องถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งใด รวมทั้งในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องใดไว้แล้ว ต่อมาเรื่องดังกล่าว ได้มีการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐยังจะต้องถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ที่มีอยู่ก่อนหน้า หรือไม่ ประการใด
หากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องเดียวกันหลายครั้ง หน่วยงานจะต้องถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการที่ว่า มติคณะรัฐมนตรีครั้งหลังจะมีผลไปยกเลิก (overrule) มติที่มีมาก่อน (ในกรณีที่มติคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดมีเนื้อหาสาระเป็นการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเดิมทั้งหมด) สำหรับกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องใด ๆ อยู่ก่อนแล้วต่อมาได้มีการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องเดียวกัน จะมีผลทำให้มติคณะรัฐมนตรีเรื่องนั้นมีผลใช้บังคับอยู่เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเท่านั้น
๕.๑ กรณีที่เป็นมติเฉพาะเรื่อง (ไม่ใช่หลักเกณฑ์หรือหลักการทั่วไป) หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้ ให้เสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โดยขอแก้ไข ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมหรือยกเลิกบางส่วน หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีทั้งหมด โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ ให้เสนอขอทบทวนต่อคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น
๕.๒ กรณีที่เป็นมติหลักการ หลักเกณฑ์ หรือมาตรการที่ต้องปฏิบัติเป็นการทั่วไป หากหน่วยงานใดไม่สามารถปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้ ให้เสนอขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย ทั้งนี้ ให้เสนอขอยกเว้นต่อคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น
โดยหลักการเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเป็นประการใดแล้ว หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด ดังนั้น หากหน่วยงานของรัฐพบว่ามีมติคณะรัฐมนตรีเรื่องใดที่เคยปฏิบัติอยู่อาจขัดหรือแย้งกับกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้พิจารณาปรับปรุงหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายต่อไป
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีแนวทางปฏิบัติในการหารือมติคณะรัฐมนตรี (ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๕/ว ๖๑๕ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๐) โดยการหารือมติคณะรัฐมนตรีในเบื้องต้นให้หารือมติคณะรัฐมนตรีไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดหรือที่กำกับดูแลหน่วยงานของตนให้ได้ข้อยุติก่อน หากกระทรวงยังไม่ได้ข้อยุติหรือยังมีข้อสงสัยจึงให้กระทรวงหารือไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยให้รัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามในหนังสือหารือ ส่วนหน่วยงานของรัฐที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร หากจะหารือ
มติคณะรัฐมนตรีให้ส่งข้อหารือไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้โดยตรง โดยให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ลงนามในหนังสือหารือ ทั้งนี้ การหารือดังกล่าวต้องเป็นการหารือถึงความไม่ชัดเจนในเนื้อหาสาระของมติคณะรัฐมนตรี
มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริงในการปฏิบัติหรือการดำเนินการของหน่วยงาน
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๔ (๘) บัญญัติให้การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้เสนอได้เฉพาะเรื่องการริเริ่มโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีวงเงินตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่โครงการลงทุนที่กำหนดอยู่ในแผนงานที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหรือเห็นชอบกับแผนงานนั้นแล้ว ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๘ [เรื่อง การกำหนดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี
ตามมาตรา ๔ (๘) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘] กำหนดให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีวงเงินลงทุนตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไปต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการลงทุนควรพิจารณากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายจัดตั้งของหน่วยงานของรัฐ และกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เพื่อประกอบการนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดด้วย ซึ่งหากมีข้อกฎหมายใดกำหนดให้ต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ก็เข้าข่ายเรื่องที่สามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ตามนัยมาตรา ๔ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ เช่นกัน
กรณีเป็นโครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หน่วยงานรับผิดชอบโครงการจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ/ ให้ความเห็นชอบเพื่อให้เริ่มกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนที่จะเป็นผู้รับงานนั้นไปพลางก่อน ได้หรือไม่
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๙ วรรคสี่ บัญญัติให้กรณีที่โครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามที่กฎหมายกำหนดเป็นโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล หรือที่อยู่อาศัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในระหว่างที่รอผลการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการนั้น อาจเสนอคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนที่จะเป็นผู้รับงานนั้นไปพลางก่อนได้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญาหรือให้สิทธิกับเอกชนผู้นั้นไม่ได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ (เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี) เห็นชอบการจำแนกแผนออกเป็น ๓ ระดับ ประกอบด้วย
(๑) แผนระดับที่ ๑ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ
(๒) แผนระดับที่ ๒ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนความมั่นคง
(๓) แผนระดับที่ ๓ หมายถึง แผนที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของแผนระดับที่ ๑ และแผนระดับที่ ๒ ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือจัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด หรือจัดทำขึ้นตามพันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ เช่น แผนของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ แผนบูรณาการ รวมถึงแผนปฏิบัติการทุกระดับ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ (เรื่อง แนวทางการจัดทำแผนระดับที่ ๓ ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน ... เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี) กำหนดขั้นตอนการเสนอแผนระดับที่ ๓ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยมีสำนักงาน
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเสนอแผนระดับที่ ๓ ไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณาก่อน
หากแผนฯ ใดสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นสมควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีได้
ก็ให้หน่วยงานดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
กรณีวันหยุดราชการประจำปีตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ (เสาร์หรืออาทิตย์ หรือทั้งเสาร์และอาทิตย์ติดกันสองวัน) จะมีหลักเกณฑ์ให้หยุดชดเชยอย่างไร
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ (เรื่อง วันหยุดชดเชยของทางราชการ) ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ (เรื่อง การพิจารณาปรับปรุงจำนวนวันหยุดราชการ)ได้กำหนดเป็นหลักการว่ากรณีวันหยุดราชการประจำปีวันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้นไปหยุดในวันทำการถัดไป โดยให้หยุดชดเชยได้ไม่เกิน ๑ วัน
๓.๑ สิ้นสุดระยะเวลาหรือเหตุการณ์ตามที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรี
๓.๒ มีการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้นแล้ว
๓.๓ มีมติคณะรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นภายหลังมาปรับปรุง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเดิมทั้งหมด
๓.๔ มีมติคณะรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นภายหลังขัดหรือแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเดิม (มติคณะรัฐมนตรีเดิมก็จะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย)
๓.๕ มติคณะรัฐมนตรีนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
๓.๖ ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีนั้น
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องเดียวกันหลายครั้งหน่วยงานของรัฐจะต้องถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งใด รวมทั้งในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องใดไว้แล้ว ต่อมาเรื่องดังกล่าว ได้มีการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐยังจะต้องถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ที่มีอยู่ก่อนหน้า หรือไม่ ประการใด
หากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องเดียวกันหลายครั้ง หน่วยงานจะต้องถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการที่ว่า มติคณะรัฐมนตรีครั้งหลังจะมีผลไปยกเลิก (overrule) มติที่มีมาก่อน (ในกรณีที่มติคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดมีเนื้อหาสาระเป็นการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเดิมทั้งหมด) สำหรับกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องใด ๆ อยู่ก่อนแล้วต่อมาได้มีการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องเดียวกัน จะมีผลทำให้มติคณะรัฐมนตรีเรื่องนั้นมีผลใช้บังคับอยู่เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเท่านั้น
กรณีเป็นโครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หน่วยงานรับผิดชอบโครงการจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ/ ให้ความเห็นชอบเพื่อให้เริ่มกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนที่จะเป็นผู้รับงานนั้นไปพลางก่อน ได้หรือไม่
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๙ วรรคสี่ บัญญัติให้กรณีที่โครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามที่กฎหมายกำหนดเป็นโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล หรือที่อยู่อาศัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในระหว่างที่รอผลการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการนั้น อาจเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนที่จะเป็นผู้รับงานนั้นไปพลางก่อนได้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญาหรือให้สิทธิกับเอกชนผู้นั้นไม่ได้
กรณีวันหยุดราชการประจำปีตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ (เสาร์หรืออาทิตย์ หรือทั้งเสาร์และอาทิตย์ติดกันสองวัน) จะมีหลักเกณฑ์ให้หยุดชดเชยอย่างไร
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ (เรื่อง วันหยุดชดเชยของทางราชการ) ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ (เรื่อง การพิจารณาปรับปรุงจำนวนวันหยุดราชการ)ได้กำหนดเป็นหลักการว่ากรณีวันหยุดราชการประจำปีวันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้นไปหยุดในวันทำการถัดไป โดยให้หยุดชดเชยได้ไม่เกิน ๑ วัน
ข้อเสนอแนะ (ชื่นชม)
ขอบคุณมากค่ะ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพยายามปรับปรุงพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ
ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความสนใจและมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพยายามปรับปรุงพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพยายามปรับปรุงพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพยายามปรับปรุงพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปค่ะ
ขอบคุณค่ะ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพยายามปรับปรุงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อไปค่ะ สำหรับแนวทางการเผยแพร่มติคณะรัฐมนตรีขอเรียนว่า การเผยแพร่มติคณะรัฐมนตรีทางเว็บไซต์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีความช้าและเร็วที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ ๒ กรณี ได้แก่
กรณีแรก เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเพื่อทราบที่ไม่มีประเด็นเพิ่มเติมไปจากที่ส่วนราชการเสนอ ซึ่งเรื่องประเภทนี้เจ้าหน้าที่สามารถเผยแพร่ได้ทันทีที่จัดทำหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีแล้วเสร็จ กรณีที่สอง เป็นเรื่องเพื่อพิจารณาหรือเรื่องเพื่อทราบที่คณะรัฐมนตรีมีประเด็นเพิ่มเติมไปจากข้อเสนอของส่วนราชการ จึงจะต้องมีการยกร่างข้อความของมติและเสนอร่างมติให้ รองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ตรวจพิจารณา ตรวจสอบและลงนามรับรองความถูกต้องก่อนนำไปจัดทำหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีของเรื่องประเภทนี้จะต้องใช้เวลานานกว่าในกรณีแรก แต่อย่างไรก็ดีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็จะเร่งดำเนินการเผยแพร่มติคณะรัฐมนตรีลงเว็บไซต์ทันทีเมื่อได้รับหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีค่ะ
ควรมีการบริการด้านนี้ตลอดไป เพราะเป็นประโยชน์ในการสืบค้นทั้งต่อหน่วยงานเจ้าของเรื่อง และหน่วยงานที่ต้องนำมติคณะรัฐมนตรีไปใช้อ้างอิงได้
ขอบคุณค่ะ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการข้อมูลต่อไป และจะพัฒนาและปรับปรุงสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น
ควรมีการบริการด้านนี้ตลอดไป เพราะเป็นประโยชน์ในการสืบค้นทั้งต่อหน่วยงานเจ้าของเรื่อง และหน่วยงานที่ต้องนำมติคณะรัฐมนตรีไปใช้อ้างอิงได้
ขอบคุณค่ะ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการข้อมูลต่อไป และจะพัฒนาและปรับปรุงสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น