มาตรา ๗๗ ของ รธน.



 

การดำเนินการตามมาตรา ๗๗

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

 

โครงการสัมมนาแนวทางการดำเนินการตามมาตรา ๗๗
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

วันพุธที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต

 

8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
1
2
3
4
5
6
7
previous arrow
next arrow
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
1
2
3
4
5
6
7
previous arrow
next arrow

 

 


มาตรา ๗๗

แนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

ส่วนที่ ๑

หลักเกณฑ์การร่างกฎหมายและการตรวจ
พิจารณาร่างกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ

ส่วนที่ ๒

แนวทางการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำ
ร่างกฎหมายและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

ส่วนที่ ๓

หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็น
ในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist)


การดำเนินการตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญ

ร่างพระราชบัญญัติ หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ และสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น

ร่างพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ….

ร่างพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ….

ร่างพระราชบัญญัติ…………………………….. พ.ศ. ….


เกี่ยวกับมาตรา ๗๗

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

มาตรา ๗๗

มาตรา ๗๗ รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจําเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดําเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ !

พึงให้มีการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลกระทบ

ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็น และการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนํามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กําหนด โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสม กับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จําเป็น

รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จําเป็น พึงกําหนดหลักเกณฑ์ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ ในกฎหมายให้ชัดเจนและพึงกําหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง

 

S
Privacy Preferences

S
Manage Consent Preferences
  • Always Active

S